ประวัติความเป็นมา


วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ เป็นวิทยาเขตที่ ๗ และเป็นวิทยาเขตใหม่สุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพ มหานครไปทางใต้ประมาณ ๙๐๐ กม. วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ จะจัดตั้งสถาบันอันดามัน เพื่อดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ ๖ จังหวัดชายฝั่ง ทะเลอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล) จุดเน้นของวิทยาเขตอยู่ที่ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว วิศวกรรมศาสตร์ (เน้น วิศวกรรมทางทะเล) อุตสาหกรรมเกษตร และเทคโนโลยีซึ่งเกี่ยวข้องกับยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ทางทะเล วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปุสตรามาเลเซีย มหาวิทยาลัยสุมาตราเหนือ และมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง วิทยาเขต สารสนเทศกระบี่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา
กิจกรรมที่วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ ได้ดำเนินการไปแล้ว

๑. การจัดตั้งสถาบันอันดามัน
เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ ได้จัดตั้งสถาบันอันดามัน (Andaman Institute) ขึ้นเพื่อประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการอบรม สัมมนา และดำเนินการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนในอันดามัน ปัจจุบันมีทีมงาน ๗ คน

๒. คนดีอันดามัน
สถาบันอันดามันได้จัดทำโครงการคนดีอันดามันและได้จัดงานไปแล้ว ๒ ครั้ง
- งานมอบโล่เกียรติยศอันดามัน ครั้งที่ ๑ ในปี ๒๕๔๑ (มอบแด่นิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ประกอบคุณความดี ช่วยเหลือสังคม) คือ
๑. นายสมชาย วณิชย์กอบจินดา
๒. นายดำรงค์ สินไชย
๓. นายสมเกียรติ กิตติธรกุล
- งานมอบโล่เกียรติยศอันดามัน ครั้งที่ ๒ ในปี ๒๕๔๒ (มอบแด่คนอันดามันที่มีผลงานดีเด่นในระดับ นานาชาติ ประเทศ และภูมิภาค) คือ
๑. นายชวน หลีกภัย
๒. นายอาทร ต้องวัฒนา
๓. นายสุรินทร์ โตทับเที่ยง

๓. การจัดประชุมนานาชาติ-ภูมิภาค
จัด First Thai-Nordic Cource in Thailand "Tropical Forest Ecology and Silviculture", ในปี ๒๕๔๒ จัดที่จังหวัดกระบี่
SEARCA Board Meeting จัดที่จังหวัดภูเก็ต
จัด Second Thai-Nordic Course in Thailand "Tropical Forest Ecology and Silviculture", ในปี ๒๕๔๓ จัดที่จังหวัดกระบี่
ประชุมสัมมนาภูมิภาค เรื่อง การวิจัยและพัฒนาไม้สกุลสะตอ Regional Seminar on Research and Development of Parkia sp. จัดที่ จังหวัดกระบี่
The First ARO Clinic on "How to Prepare Research Proposal" ร่วมกับ APAFRI?Tree Link Project จัดให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน ๖ ประเทศ ที่จังหวัดกระบี่

๔. การจัดอบรมประชาชนในจังหวัดกระบี่
การอบรมประชาชน เรื่อง สมุนไพรกับวิถีชีวิตของคนอันดามัน
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ-การทำฟาร์มป่าไม้และสวนป่าอุตสาหกรรมในอันดามัน
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ-การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอันดามัน
การอบรมประชาชน เรื่อง การปลูกมะละกอเพื่อการค้า
การอบรมประชาชน ครั้งที่ ๔ เรื่อง กล้วยและอ้อย
การอบรมการบริหารองค์การท้องถิ่น (โครงการมิยาซาว่า)
การอบรมภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานให้ชุมชนบ้านทุ่งสูง ซึ่งจะต้องเตรียมตัวรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของป่าชุมชนบ้านทุ่งสูง

๕. กิจกรรมสาธารณะในจังหวัดกระบี่
โครงการหาดสะอาดเพื่อการท่องเที่ยวในท้องทะเลอันดามัน
โครงการเฉลิมพระเกียรติอนุรักษ์ไม้ใหญ่ริมทางในช่อง
โครงการอันดามันสู่ธรรมชาติ โดยมีโครงการย่อย ๒ โครงการ คือ
โครงการคืนเกาะพีพีสู่ธรรมชาติ ครั้งที่ ๓
โครงการสร้างธรรมชาติสู่จังหวัดกระบี่ (กิจกรรมปลูกต้นไม้และปล่อยลูกกุ้ง-ลูกปลา)

๖. การอบรมผู้นำเยาวชนอันดามัน
ทำการจัดการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนอันดามัน ๕ ครั้ง รวมผู้นำเยาวชนอันดามัน ๖ จังหวัด จำนวน ๑๓๒ คน โดยการอบรมครั้งที่ ๕ ได้จัดทำที่บ้านทุ่งสูง และผู้นำเยาวชนได้ร่วมกันร่างคำปฏิญญาอันดามัน (ปี ๒๕๔๑) และคำปฏิญญาบ้านทุ่งสูงเกี่ยวกับการศึกษา (ปี ๒๕๔๓) ขึ้น

๗. การจัดนิทรรศการ
จัดนิทรรศการและแสดงนิทรรศการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จัดนิทรรศการเทคโนโลยีสู่อันดามันครั้งที่ ๑ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่

๘. จัดงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย
โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย ครั้งที่ ๒ ในปี ๒๕๔๑ โดยจัดร่วมกับสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดกระบี่ และจังหวัดกระบี่
โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทย ครั้งที่ ๓ ในปี ๒๕๔๓


การเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท

ก่อนที่จะมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ในปี ๒๕๔๕ เป็นต้น
วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ ได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ให้ใช้อาคารฝึกอบรม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อนุมัติ เงินค่าซ่อมแซมอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานและเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท ภายในวงเงิน ๑.๒ ล้านบาท
จากการสำรวจผู้ที่สนใจจะเรียนในระดับปริญญาโท มากกว่า ๓๕๐ คน วิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ จึงวางแผนที่จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญา โท จำนวน ๒ หลักสูตร ในช่วงปลายปี ๒๕๔๓ สาขาที่จะเปิดสอนมี
๑. สาขาบริหารการศึกษา ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มก.
๒. สาขาบริหารทรัพยากรป่าไม้ ร่วมกับคณะวนศาสตร์ มก.
คณะและสาขาวิชาที่เปิดสอน

๑. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาเกษตร
๒. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
๓. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
๔. สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาห-กรรมเกษตร
จะเปิดสอนเพิ่มในแผนฯ ๙
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาเทคโนโลยีและพัฒนาการเกษตร
๒. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
๓. สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
ปริญญาโท
๑. สาขาวิชาการพัฒนาการเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ

๒. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
๒. สาขาวิชาวิศวกรรมการอาหาร
จะเปิดสอนเพิ่มในแผนฯ ๙
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (เน้นการซ่อมเรือ)
๒. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
๓. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
๔. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
๕. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
๖. สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
๗. สาขาวิชาวิศวกรรม Mechatronics (New)

๓. คณะการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวนศาสตร์
๒. สาขาวิชาชีววิทยาประมง
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาทรัพยากรป่าไม้
๒. สาขาวิชาทรัพยากรประมง
๓. สาขาวิชาทรัพยากรดินและน้ำ
๔. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและสิ่งแวดล้อม
๕. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว
ปริญญาโท
๑. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

4. คณะวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
๒. สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
๓. สาขาวิชาการเดินทางและการท่องเที่ยว
๔. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-พลศึกษา
๕. สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
๖. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
๗. สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
๘. สาขาวิชาจิตวิทยา
๙. สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
๑๐. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
๑๑. สาขาวิชาการจัดการ
๑๒. สาขาวิชาการจัดการการผลิต
๑๓. สาขาวิชาการเงิน
๑๔. สาขาวิชาการตลาด
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาภาษา
๒. สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว
๓. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
๔. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและพาณิชย์นาวี
๕. สาขาวิชาบริหารธุรกิจเกษตร
๖. สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม
๗. สาขาวิชานิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อมวลชน
๘. สาขาวิชาสังคมและมานุษยวิทยา
ปริญญาโท
๑. สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจและพัฒนาสังคม
๒. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
๓. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

๕. คณะสารสนเทศศาสตร์
ปริญญาตรี
๑. สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
๒. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ปริญญาโท
๑. สาขาวิชานิเทศศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
๒. สาขาวิชาTechnology Management


ที่มา : แผ่นพับแนะนำวิทยาเขตสารสนเทศกระบี่