2486   2 ก.พ. ประกาศสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    แต่งตั้ง พลเรือโทสินธุ์ กมลนาวิน เป็นอธิการบดี และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (2 ก.พ. 2486 - 31 ส.ค. 2488)
    จัดตั้ง 4 คณะ ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะสหกรณ์ คณะวนศาสตร์ และคณะการประมง การศึกษาหลักสูตร 5 ปีสำหรับปริญญาตรี และ 3 ปี สำหรับอนุปริญญา
2488   แต่งตั้ง นายทวี บุณยเกตุ เป็นอธิการบดี และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (1 ก.ย. 2488 - 18 ก.ย. 2488 และ 24 มี.ค. 2489 - 23 ส.ค. 2489)
พระยาอรรถการีนิพนธ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (19 ก.ย. 2488 - 1 ก.พ. 2489)
จัดตั้งองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่นำระบบหน่วยกิตมาใช้
2489   แต่งตั้ง หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นอธิการบดี (พ.ศ. 2489-2501)
    พระยาอัชราชทรงสิริ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (2 ก.พ. 2489 - 23 มี.ค. 2489)
    นายจรูญ สืบแสง เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (24 ส.ค. 2489 - 30 พ.ค. 2490)
    มีนิสิตรับปริญญาปีแรก จากผู้แทนพระองค์ คือ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
2490   พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (31 พ.ค. 2490 - 10 พ.ย. 2490)
    นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (11 พ.ย. 2490 - 17 พ.ย. 2490)
    หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (18 พ.ย. 2490 - 14 เม.ย. 2491)
2491   พระยาพนานุจร เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (15 เม.ย. 2491 - 29 พ.ย. 2491)
    พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (30 พ.ย. 2491 - 28 พ.ย. 2494)
    โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้ แปลงสภาพเป็นสถานศึกษาอาชีพ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
    จัดงานตลาดนัดเกษตรกลางบางเขน
    จดหมายหลวงสุวรรณมีไปถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492   รับนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทั่วไปเป็นนิสิตปีที่ 1
    2492-93 ท่านคณบดี Walker จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ยูท่าห์สเตท
    ริเริ่มความช่วยเหลือในการสร้างกำลังคนระดับสูงในมหาวิทยาลัย
    จัดตั้งโรงเรียนการชลประทาน
2493   25 พ.ค. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ ตึกสัตวบาล (หอประวัติฯ)
    เริ่มมีนิสิตหญิงเข้ามาศึกษาปีแรก 2 คน ในคณะเกษตรศาสตร์ คือ น.ส. ดานา โทรางกูร และ น.ส. วารุณี รัศมิทัต
    ตั้งแต่ปี 2493 องค์การต่างประเทศ เริ่มเข้ามามีส่วนให้ความช่วยเหลือเกิดโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
    จัดโครงการอบรมวิชาชีพสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก โดยสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
2494   พลตรีเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (29 พ.ย. 2494 - 7 ธ.ค. 2494)
    พลเรือตรีหลวงยุทธศาสตร์โกศล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (8 ธ.ค. 2494 - 27 มี.ค. 2495)
    ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดของสถานีทดลองของกรม กสิกรรม รวมกันใช้ชื่อว่า หอสมุดกลาง
    2494-2495 ท่านคณบดี K. A. Ryerson จากคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส มาประเมินรายละเอียดและจัดเตรียมข้อเสนอขององค์การ M.S.A. เพื่อทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ และมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัย
    ก.ย. 2494 - ต.ค. 2495 FAO ส่ง Dr. F.M. Fronda ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงไก่จากประเทศฟิลิปปินส์ มาช่วยแนะนำวิธีการเลี้ยงไก่
    องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (FOA) ให้ความช่วยเหลือด้านที่ปรึกษา การจัดอบรมเจ้าหน้าที่ ให้เครื่องมืออุปกรณ์การสอน
    รับโอนหลักสูตร 3 ปี ของโรงเรียนการชลประทานมาเป็นหลักสูตรอนุปริญญาของมหาวิทยาลัย
2495   พลเรือโทหลวงสุนาวินวิวัฒน์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (28 มี.ค. 2495 - 11 ธ.ค. 2496)
    จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย (12 ธ.ค. 2496 - 31 ธ.ค. 2501)
    ยกฐานะเป็นกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    คณะสหกรณ์ เพิ่มวิชาเศรษฐศาสตร์กสิกรรมเข้าไปในหลักสูตร แทนวิชากฎหมาย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ สอนที่กระทรวงสหกรณ์
    มีการกำหนดเครื่องแบบนิสิตหญิงเป็นครั้งแรก
    เนื่องจากจำนวนนิสิตหญิงเพิ่มมากขึ้น จึงย้ายมาพักที่หอ 10 ร่วมกับอาจารย์ชวนชม จันทระเปารยะ ต่อมาสร้างหอพักหญิงเพิ่มเติมเป็นตึก 2 ชั้น แต่ยังคงเรียกตึก 10 เช่นเดิม
    ปีนี้เป็นปีแรกของงานประเพณี "ชาวเรือ-ชาวไร่"
    มีการจัดงานประจำปีใช้ชื่อ "งานเกษตรกลาง บางเขน"
    แผนกดนตรี ลงคะแนนตั้งชื่อให้กับวงดนตรีของแผนกว่า KU Band
    อธิการบดี (หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ) จัดให้มีการสอนการเลี้ยงไก่และการถนอมอาหารแก่ประชาชนภาคฤดูร้อน
    2495-2499 มูลนิธิการศึกษาตามสัญญาฟุลไบร์ท ส่งอาจารย์มาช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษและวิชาอื่นในคณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 3 คน
    2495-2503 มหาวิทยาลัยแห่งรัฐออรีกอน ช่วยเหลือปรับปรุงกิจการของมหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของ USOM (United States Operation Mission) และได้ส่งอาจารย์ไปดูงานในสาขาวิชาต่างๆ